2551-11-09

วิกฤต "แฮมเบอร์เกอร์" กับ "ต้มยำกุ้ง" ต่างกันอย่างไร

จัดทำบทความโดย นางสาวจตุพร ญาณนิธิกุล 5005106017
ขณะนี้ นักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกต่างกังวลกับเศรษฐกิจฟองสบู่สหรัฐที่ใกล้จะแตก จนอาจจะกลายเป็นวิกฤติ "แฮมเบอร์เกอร์" ที่หลายฝ่ายกำลังกลัวว่า จะลุกลามกลายเป็นวิกฤติการเงินของโลก ไม่ต่างกับเมื่อ 10 ปีก่อน ที่เกิดวิกฤติการเงินในประเทศไทยในปี 2540 ซึ่งในที่สุด ได้ลุกลามข้ามน้ำข้ามทะเลไปยังประเทศต่างๆ กลายเป็นวิกฤติ "ต้มยำกุ้ง" ที่โด่งดังไปทั่วโลก
จริงๆ แล้ว สถานการณ์เศรษฐกิจการเงินของสหรัฐในปัจจุบัน มีส่วนคล้ายคลึงกับภาวะเศรษฐกิจของไทยในช่วงก่อนปี 2540 หลายประการ แต่ก็มีบางส่วนที่แตกต่างกัน ดังนั้น คอลัมน์มุมเอกในฉบับนี้ จะขอเปรียบเทียบสถานการณ์ทั้ง 2 เหตุการณ์ ให้ผู้อ่านได้รับทราบ เพื่อจะได้เข้าใจ “ความเหมือนที่แตกต่าง” ของวิกฤติต้มยำกุ้งในไทย กับวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ที่กำลังก่อร่างสร้างตัว และรอวันระเบิดอยู่ในสหรัฐ ในอนาคต
หากผู้อ่านลองย้อนนึกไปถึงสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วง 4-5 ปี ก่อนที่จะเกิดวิกฤติการเงินของไทยในปี 2540 ท่านอาจจะพอจำความรู้สึกที่พวกเราคนไทยส่วนใหญ่ร่ำรวยกันอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะจากการปั่นราคาที่ดิน จนราคาสูงขึ้นไปหลายเท่าตัว หรือปั่นราคาหุ้นจนดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ไทย สูงขึ้นไปอยู่เกือบสองพันจุด (เทียบกับปัจจุบันที่ราคาหุ้นยังอยู่แค่ประมาณ 800 จุด) ส่วนธุรกิจเอกชนก็ร่ำรวยไม่แพ้กัน เพราะสามารถกู้เงินต่างชาติ ผ่านแบงก์หรือไฟแนนซ์ มาต่อเงินสร้างความร่ำรวยกันอย่างง่ายดายคราวนี้พอคนไทยส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา และห้างร้านนิติบุคคล หาเงินกันอย่างง่ายดาย ก็จับจ่ายใช้สอยกันอย่างฟุ่มเฟือยตามฐานะ (จอมปลอม) ที่ดีขึ้น หลายคนเริ่มสะสมรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ไว้ที่บ้านจนลานจอดรถไม่พอ บ้างก็แห่กันยกครอบครัวไปเที่ยวเมืองนอกและสะสมกระเป๋าใบหรูราคาแพงกันคนละหลายใบ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เมื่อรวมกันมาเป็นภาพใหญ่ก็สะท้อนมาด้วยตัวเลขการขาดดุลเดินบัญชีเดินสะพัดที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนมาอยู่สูงถึงเกือบร้อยละ 8 ของ GDP แล้วก็ชดเชยการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดนี้ด้วยการกู้เงินต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการกู้เงินระยะสั้นผ่านช่องทาง BIBF ของสถาบันการเงินต่างๆ
แน่นอนว่า ในช่วงแรกๆ ต่างชาติก็ยินดีให้กู้ด้วยดี เพราะเห็นว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะมีอนาคตสดใส สามารถชำระหนี้คืนได้ในอนาคต แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปๆ เศรษฐกิจเริ่มไม่สดใสอย่างที่คิด การส่งออกที่เคยโตปีละ 10% กลับไม่ขยายตัวในปี 2539 ผู้ให้กู้ชาวต่างชาติเลยหมดความมั่นใจ และแห่ถอนเงินกู้คืนจากเมืองไทยตั้งแต่ช่วงปลายปี 2539 จนเป็นที่มาของการล้มละลายในบริษัทไทยหลายแห่ง โดยเริ่มต้นจากบริษัทในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ปั่นราคาคอนโด และราคาบ้านจนสูงลิบ ซึ่งในที่สุดก็ขายไม่ออก กลายเป็นปัญหาหนี้เสีย NPL จนลุกลามทำให้ไฟแนนซ์ และธนาคารพาณิชย์ทั้งหลายขาดสภาพคล่องมหาศาล จนธนาคหากลองวิเคราะห์เจาะลึกสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐ ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ท่านผู้อ่านจะพบว่า ไม่ต่างกับเหตุการณ์ฟองสบู่ ในเมืองไทยช่วงก่อนวิกฤติปี 2540 เท่าไรนัก เช่น คนอเมริกันที่ใช้จ่ายบริโภคกันอย่างฟุ่มเฟือย เหมือนคนไทยในยุคก่อนปี 2540 ในขณะเดียวกัน ก็แห่กันเก็งกำไรในราคาบ้านและที่ดินกันมหาศาล โดยแต่ละครอบครัวชาวอเมริกันจะมีบ้านกัน 2-3 หลัง และมีการปั่นราคาบ้านจนราคาสูงขึ้นไปหลายเท่าตัว
ดังนั้น ในที่สุดเมื่อบ้านเริ่มขายไม่ออก ลูกหนี้ที่ขอกู้มาผ่อนบ้านก็เริ่มชักดาบ (โดยเฉพาะลูกหนี้ที่มีรายได้ต่ำกว่ามาตรฐานทั่วไป หรือลูกหนี้ประเภทซับไพร์ม จนเป็นที่มาของชื่อเรียกยอดนิยมในปัจจุบันว่า ปัญหาซับไพร์ม) ทำให้สถาบันการเงิน เกิดปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง จนธนาคารกลางสหรัฐต้องเข้าไปช่วยเหลืออัดฉีดสภาพคล่องอย่างมากมาย ซึ่งดูแล้วก็ไม่ต่างกับปัญหาการขาดสภาพคล่องในช่วงปลายปี 2539 ยังไงยังงั้น
ซึ่งเหตุการณ์นี้ต่างกับประเทศไทยในช่วงก่อนปี 2540 ที่รัฐบาลไทยมีการเกินดุลการคลังมาโดยตลอด ทำให้ในยามจำเป็น ที่รัฐบาลต้องฟื้นฟูเศรษฐกิจในช่วงหลังวิกฤติ รัฐบาลจึงสามารถใช้บุญเก่า มาจัดทำนโยบายการคลังแบบขาดดุล เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้โดยไม่มีปัญหาเสถียรภาพการคลัง
การที่ภาคเอกชนและรัฐบาลอเมริกันพร้อมใจกันใช้จ่ายขาดดุลอย่างฟุ่มเฟือย ได้สะท้อนปัญหาในภาพรวม ให้เห็นผ่านการนำเข้าสินค้า และบริการที่ขยายตัวสูงมาก จนเกิดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง จนในปัจจุบันขาดดุลอยู่สูงถึงเกือบ 6% ของ GDP ซึ่งนับว่าเกินระดับอันตรายของมาตรฐานสากล ที่สามารถนำพาประเทศให้เกิดวิกฤติได้แล้ว แถมยังเป็นการขาดดุลทั้ง 3 บัญชี ทั้งขาดดุลการคลังของรัฐบาล ขาดดุลการออมของครัวเรือน และขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งควรจะเรียกได้ว่า เป็นปัญหา Triple Deficits ที่น่าจะมีความรุนแรงกว่าวิกฤติต้มยำกุ้งของไทยที่อย่างน้อยก็ยังมีดุลการคลังที่เกินดุล
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหรัฐในปัจจุบันยังไม่เจอกับวิกฤติเศรษฐกิจก็เพราะระบบการเงินของโลก ที่สหรัฐวางรากฐานไว้ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ทำให้ดอลลาร์กลายเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศไปโดยปริยาย (ผมเขียนรายละเอียดเรื่องนี้ไว้ในคอลัมน์มุมเอก ตอน "ความผันผวนในตลาดเงินโลก กับการเงินระหว่างประเทศที่เปลี่ยนไป" ลองไปหาดูในบทความย้อนหลังนะครับ)เพราะฉะนั้น ประเทศต่างๆ ที่เกินดุลบัญชีเดินสะพัดกับสหรัฐ จึงไม่มีทางเลือกต้องนำเงินที่ค้าขายเกินดุลได้มา กลับไปลงทุนในสหรัฐ (ซึ่งก็คือการปล่อยกู้ให้สหรัฐ เพื่อชดเชยการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดนั่นเอง) ดังนั้น เมื่อสหรัฐยังมีเงินทุนจากต่างประเทศ ที่ยังเต็มใจให้สหรัฐกู้อยู่ ทำให้วิกฤติ “แฮมเบอร์เกอร์” จึงยังไม่เกิดขึ้น
แต่เหตุการณ์นี้ไม่ได้ประกันว่าจะเกิดขึ้นต่อไปอย่างถาวร เพราะในอนาคต เมื่อนักลงทุนต่างชาติ ที่ถือเงินลงทุนอยู่ในรูปดอลลาร์ เริ่มถอนเงินออกจากสหรัฐ เพราะเกรงว่าในที่สุดสินทรัพย์ในรูปดอลลาร์จะด้อยค่าลงๆ เหมือนกับสินทรัพย์ในรูปเงินบาท ที่ด้อยค่าลงอย่างรวดเร็วในช่วงวิกฤติปี 2540 วันนั้นแหละครับ ที่สหรัฐจะเจอวิกฤติ “แฮมเบอร์เกอร์ (เน่า)” อย่างเต็มรูปแบบ
เสียดายเนื้อที่คอลัมน์ฉบับนี้หมดลงเสียแล้ว ไว้ในคอลัมน์มุมเอกฉบับต่อๆ ไป ผมจะพูดถึงมาตรการขาดดุลการคลังของสหรัฐ และการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ ว่าไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐได้ตรงจุดเท่าไร เพียงแค่ช่วยยืดเวลาวิกฤติออกไปเท่านั้น เพราะปัญหาที่แท้จริงในสหรัฐยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ผมก็ได้แต่หวังว่า สหรัฐอเมริกาจะได้ประธานาธิบดี และรัฐมนตรีคลัง ที่เก่งกาจและชำนาญในเรื่องเศรษฐกิจ จะได้เข้ามาแก้ปัญหาวิกฤติของชาติ และของโลกได้ตรงจุด สวัสดีครับารชาติต้องเข้าไปช่วยเหลือ ซึ่งในที่สุด ก็เจ๊งและต้องปิดกิจการอยู่ดี
ที่มา:http://learners.in.th/blog/jtepa-thai-japan/213713

คำถามท้ายเรื่อง
ข้อ 1.วิกฤตการณ์ "แฮมเบอร์เกอร์" แตกต่างกับ "ต้มยำกุ้ง" อย่างไร
ข้อ 2. ปัญหา Triple Deficits เกิดจากการขาดดุลกี่บัญชีและบัญชีใดบ้าง
ข้อ 3. ในบทความนี้ผู้เขียนกล่าวว่า "สหรัฐอเมริกายังไม่เจอกับวิกฤติเศรษฐกิจ"ก็เพราะอะไร

5 ความคิดเห็น:

สตางค์ กล่าวว่า...

จตุพร
บทความที่เลือกมาดีค่ะ ตรงกับสิ่งที่ครูอยากให้ทำ เป็นความรู้ที่ช่วยให้เพื่อน ๆ เข้าใจวิกฤตการณ์ของสหรัฐและไทยค่ะ แต่เข้าใจว่าผู้เขียนอาจจะเขียนมาพักใหญ่ ๆ แล้ว เพราะปัจจุบันวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์เราถือว่าเกิดขึนเรียบร้อยแล้ว อยากให้เปลี่ยนคำว่า"ปัจจุบัน"คำถามที่ 3 เป็นคำว่า:
"ในขณะที่ผู้เขียนบทความเขียน" ค่ะ

ลิศรา

CUTIE GIRL IN FM กล่าวว่า...

1. เหตุการณ์นี้ต่างกับประเทศไทยในช่วงก่อนปี 2540คือ
รัฐบาลไทยมีการเกินดุลการคลังมาโดยตลอด ทำให้ในยามจำเป็น
ที่รัฐบาลต้องฟื้นฟูเศรษฐกิจในช่วงหลังวิกฤติ รัฐบาลจึงสามารถใช้บุญเก่า
มาจัดทำนโยบายการคลังแบบขาดดุล เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้โดยไม่มีปัญหาเสถียรภาพการคลัง

2. 3บัญชี คือ ขาดดุลการคลังของรัฐบาล ขาดดุลการออมของครัวเรือน และขาดดุลบัญชีเดินสะพัด

3. ระบบการเงินของโลก ที่สหรัฐวางรากฐานไว้ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง
ที่ทำให้ดอลลาร์กลายเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศไปโดยปริยาย เพราะฉะนั้น
ประเทศต่างๆ ที่เกินดุลบัญชีเดินสะพัดกับสหรัฐ
จึงไม่มีทางเลือกต้องนำเงินที่ค้าขายเกินดุลได้มา กลับไปลงทุนในสหรัฐ
ดังนั้น เมื่อสหรัฐยังมีเงินทุนจากต่างประเทศ ที่ยังเต็มใจให้สหรัฐกู้อยู่ ทำให้วิกฤติ
“แฮมเบอร์เกอร์” จึงยังไม่เกิดขึ้น

ตอบโดย ดรีม น.ส วิลาสินี ชูหวาน
251utccba205g21

utccba205g22 กล่าวว่า...

ตอบ
1.รัฐบาลไทยมีดุลการคลังเกินมาโดยตลอดทำให้เมื่อมีปัญหาจึงมีบุญเก่ามาใช้ ส่วนสหรัฐอเมริกาทางรัฐบาลมีการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยจึงขาดดุลการคลัง
2.ขาดดุลการคลังของรัฐบาล, ขาดดุลการออมของภาคครัวเรือน, ขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
3.ระบบการเงินของโลก ที่สหรัฐวางรากฐานไว้ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ทำให้ดอลลาร์กลายเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศไปโดยปริยาย
นายสิทธิคุณ คงสมปรี 5005106019

utccba205g22 กล่าวว่า...

answer
1.รัฐบาลไทยมีดุลการคลังเกินมาโดยตลอดทำให้เมื่อมีปัญหาจึงมีบุญเก่ามาใช้ ส่วนสหรัฐอเมริกาทางรัฐบาลมีการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยจึงขาดดุลการคลัง
2.ขาดดุลการคลังของรัฐบาล, ขาดดุลการออมของภาคครัวเรือนและขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
3.ระบบการเงินของโลก ที่สหรัฐวางรากฐานไว้ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ทำให้มีดอลลาร์กลายเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศไปโดยปริยาย
5005106018 พงษ์พันธ์

Utccba205g26 กล่าวว่า...

คำตอบ

1.เหตุการณ์นี้ต่างกับประเทศไทยในช่วงก่อนปี 2540 ที่รัฐบาลไทยมีการเกินดุลการคลังมาโดยตลอด ทำให้ในยามจำเป็น ที่รัฐบาลต้องฟื้นฟูเศรษฐกิจในช่วงหลังวิกฤติ รัฐบาลจึงสามารถใช้บุญเก่า มาจัดทำนโยบายการคลังแบบขาดดุล เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้โดยไม่มีปัญหาเสถียรภาพการคลัง
2.มี 3 บัญชี ทั้งขาดดุลการคลังของรัฐบาล ขาดดุลการออมของครัวเรือน และขาดดุลบัญชีเดินสะพัด
3.เศรษฐกิจสหรัฐในปัจจุบันยังไม่เจอกับวิกฤติเศรษฐกิจก็เพราะระบบการเงินของโลก ที่สหรัฐวางรากฐานไว้ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ทำให้ดอลลาร์กลายเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศไปโดยปริยาย เพราะฉะนั้น ประเทศต่างๆ ที่เกินดุลบัญชีเดินสะพัดกับสหรัฐ จึงไม่มีทางเลือกต้องนำเงินที่ค้าขายเกินดุลได้มา กลับไปลงทุนในสหรัฐ ดังนั้น เมื่อสหรัฐยังมีเงินทุนจากต่างประเทศ ที่ยังเต็มใจให้สหรัฐกู้อยู่ ทำให้วิกฤติ “แฮมเบอร์เกอร์” จึงยังไม่เกิดขึ้น

น.ส. จิตลดา ธนกิจอมร 4901208045