2551-12-14

เศรษฐกิจพอเพียง

จัดทำโดย 5005106008
นางสาว ปารวรรณ จันทร์เนตร

เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง
ด้วยการศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ ว่าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระองค์นั้นเป็นอย่างไร สามารถนำไปปฏิบัติได้ในส่วนของตนเองหรือไม่ ซึ่งยังคงยึดแนวทางที่ให้ประชาชนเลือกการพัฒนาด้วยตนเอง ที่ว่า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระราชหฤทัยในความเป็นไปของเมืองไทยและคนไทยอย่างลึกซึ้งและกว้างไกล ได้ทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบท และช่วยเหลือประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้มีความ " พออยู่พอกิน" และมีความอิสระที่จะอยู่ได้โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ ทรงวิเคราะห์ว่าหากประชาชนพึ่งตนเองได้แล้วก็จะมีส่วนช่วยเหลือเสริมสร้างประเทศชาติโดยส่วนรวมได้ในที่สุด พระราชดำรัสที่สะท้อนถึงพระวิสัยทัศน์ในการสร้างความเข้มแข็งในตนเองของประชาชนและสามารถทำมาหากินให้พออยู่พอกินได้ ดังนี้
"….ในการสร้างถนน สร้างชลประทานให้ประชาชนใช้นั้น จะต้องช่วยประชาชนในทางบุคคลหรือพัฒนาให้บุคคลมีความรู้และอนามัยแข็งแรง ด้วยการให้การศึกษาและการรักษาอนามัย เพื่อให้ประชาชนในท้องที่สามารถทำการเกษตรได้ และค้าขายได้…"
ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเกิดความถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงขึ้นนี้จึงทำให้เกิดความเข้าใจได้ชัดเจนในแนวพระราชดำริของ "เศรษฐกิจพอเพียง" ซึ่งได้ทรงคิดและตระหนักมาช้านาน เพราะหากเราไม่ไปพี่งพา ยึดติดอยู่กับกระแสจากภายนอกมากเกินไป จนได้ครอบงำความคิดในลักษณะดั้งเดิมแบบไทยๆไปหมด มีแต่ความทะเยอทะยานบนรากฐานที่ไม่มั่นคงเหมือนลักษณะฟองสบู่ วิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้อาจไม่เกิดขึ้น หรือไม่หนักหนาสาหัสจนเกิดความเดือดร้อนกันถ้วนทั่วเช่นนี้ ดังนั้น "เศรษฐกิจพอเพียง" จึงได้สื่อความหมาย ความสำคัญในฐานะเป็นหลักการสังคมที่พึงยึดถือ
ในทางปฏิบัติจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงคือ การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น เศรษฐกิจพอเพียงเป็นทั้งหลักการและกระบวนการทางสังคม ตั้งแต่ขั้นฟื้นฟูและขยายเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพออยู่พอกินขึ้นไปถึงขั้นแปรรูปอุตสาหกรรมครัวเรือน สร้างอาชีพและทักษะวิชาการที่หลากหลายเกิดตลาดซื้อขาย สะสมทุน ฯลฯ บนพื้นฐานเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนนี้ เศรษฐกิจของ 3 ชาติ จะพัฒนาขึ้นมาอย่างมั่นคงทั้งในด้านกำลังทุนและตลาดภายในประเทศ รวมทั้งเทคโนโลยีซึ่งจะค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาจากฐานทรัพยากรและภูมิปัญญาที่มีอยู่ภายในชาติ และทั้งที่จะพึงคัดสรรเรียนรู้จากโลกภายนอก
เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจที่พอเพียงกับตัวเอง ทำให้อยู่ได้ ไม่ต้องเดือดร้อน มีสิ่งจำเป็นที่ทำได้โดยตัวเองไม่ต้องแข่งขันกับใคร และมีเหลือเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ไม่มี อันนำไปสู่การแลกเปลี่ยนในชุมชน และขยายไปจนสามารถที่จะเป็นสินค้าส่งออก เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจระบบเปิดที่เริ่มจากตนเองและความร่วมมือ วิธีการเช่นนี้จะดึงศักยภาพของ ประชากรออกมาสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ซึ่งมีความผู้พันกับ “จิตวิญญาณ” คือ “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า” ในระบบเศรษฐกิจพอเพียงจะจัดลำดับความสำคัญของ “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า” มูลค่านั้นขาดจิตวิญญาณ เพราะเป็นเศรษฐกิจภาคการเงิน ที่เน้นที่จะตอบสนองต่อความต้องการที่ไม่จำกัดซึ่งไร้ขอบเขต ถ้าไม่สามารถควบคุมได้การใช้ทรัพยากรอย่างทำลายล้างจะรวดเร็วขึ้นและปัญหาจะตามมา เป็นการบริโภคที่ก่อให้เกิดความทุกข์หรือพาไปหาความทุกข์ และจะไม่มีโอกาสบรรลุวัตถุประสงค์ในการบริโภค ที่จะก่อให้ความพอใจและความสุข (Maximization of Satisfaction) ผู้บริโภคต้องใช้หลักขาดทุนคือกำไร (Our loss is our gain) อย่างนี้จะควบคุมความต้องการที่ไม่จำกัดได้ และสามารถจะลดความต้องการลงมาได้ ก่อให้เกิดความพอใจและความสุขเท่ากับได้ตระหนักในเรื่อง “คุณค่า” จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ ไม่ต้องไปหาวิธีทำลายทรัพยากรเพื่อให้เกิดรายได้มาจัดสรรสิ่งที่เป็น “ความอยากที่ไม่มีที่สิ้นสุด” และขจัดความสำคัญของ “เงิน” ในรูปรายได้ที่เป็นตัวกำหนดการบริโภคลงได้ระดับหนึ่ง แล้วยังเป็นตัวแปรที่ไปลดภาระของกลไกของตลาดและการพึ่งพิงกลไกของตลาด ซึ่งบุคคลโดยทั่วไปไม่สามารถจะควบคุมได้ รวมทั้งได้มีส่วนในการป้องกันการบริโภคเลียนแบบ (Demonstration Effects) จะไม่ทำให้เกิดการสูญเสีย จะทำให้ไม่เกิดการบริโภคเกิน (Over Consumption) ซึ่งก่อให้เกิดสภาพเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน การบริโภคที่ฉลาดดังกล่าวจะช่วยป้องกันการขาดแคลน แม้จะไม่ร่ำรวยรวดเร็ว แต่ในยามปกติก็จะทำให้ร่ำรวยมากขึ้น ในยามทุกข์ภัยก็ไม่ขาดแคลน และสามารถจะฟื้นตัวได้เร็วกว่า โดยไม่ต้องหวังความช่วยเหลือจากผู้อื่นมากเกินไป เพราะฉะนั้นความพอมีพอกินจะสามารถอุ้มชูตัวได้ ทำให้เกิดความเข้มแข็ง และความพอเพียงนั้นไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง แต่มีการแลกเปลี่ยนกันได้ระหว่างหมู่บ้าน เมือง และแม้กระทั่งระหว่างประเทศ ที่สำคัญคือการบริโภคนั้นจะทำให้เกิดความรู้ที่จะอยู่ร่วมกับระบบ รักธรรมชาติ ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง เพราะไม่ต้องทิ้งถิ่นไปหางานทำ เพื่อหารายได้มาเพื่อการบริโภคที่ไม่เพียงพอ ประเทศไทยอุดมไปด้วยทรัพยากรและยังมีพอสำหรับประชาชนไทยถ้ามีการจัดสรรที่ดี โดยยึด " คุณค่า " มากกว่า " มูลค่า " ยึดความสัมพันธ์ของ “บุคคล” กับ “ระบบ” และปรับความต้องการที่ไม่จำกัดลงมาให้ได้ตามหลักขาดทุนเพื่อกำไร และอาศัยความร่วมมือเพื่อให้เกิดครอบครัวที่เข้มแข็งอันเป็นรากฐานที่สำคัญของระบบสังคม การผลิตจะเสียค่าใช้จ่ายลดลงถ้ารู้จักนำเอาสิ่งที่มีอยู่ในขบวนการธรรมชาติมาปรุงแต่ง ตามแนวพระราชดำริในเรื่องต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วซึ่งสรุปเป็นคำพูดที่เหมาะสมตามที่ ฯพณฯ พลเอกเปรม ตินณสูลานนท์ ที่ว่า “…ทรงปลูกแผ่นดิน ปลูกความสุข ปลดความทุกข์ของราษฎร” ในการผลิตนั้นจะต้องทำด้วยความรอบคอบไม่เห็นแก่ได้ จะต้องคิดถึงปัจจัยที่มีและประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้อง มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาอย่างเช่นบางคนมีโอกาสทำโครงการแต่ไม่ได้คำนึงว่าปัจจัยต่าง ๆ ไม่ครบ ปัจจัยหนึ่งคือขนาดของโรงงาน หรือเครื่องจักรที่สามารถที่จะปฏิบัติได้ แต่ข้อสำคัญที่สุด คือวัตถุดิบ ถ้าไม่สามารถที่จะให้ค่าตอบแทนวัตถุดิบแก่เกษตรกรที่เหมาะสม เกษตรกรก็จะไม่ผลิต ยิ่งถ้าใช้วัตถุดิบสำหรับใช้ในโรงงานั้น เป็นวัตถุดิบที่จะต้องนำมาจากระยะไกล หรือนำเข้าก็จะยิ่งยาก เพราะว่าวัตถุดิบที่นำเข้านั้นราคายิ่งแพง บางปีวัตถุดิบมีบริบูรณ์ ราคาอาจจะต่ำลงมา แต่เวลาจะขายสิ่งของที่ผลิตจากโรงงานก็ขายยากเหมือนกัน เพราะมีมากจึงทำให้ราคาตก หรือกรณีใช้เทคโนโลยีทางการเกษตร เกษตรกรรู้ดีว่าเทคโนโลยีทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น และผลผลิตที่เพิ่มนั้นจะล้นตลาด ขายได้ในราคาที่ลดลง ทำให้ขาดทุน ต้องเป็นหนี้สิน การผลิตตามทฤษฎีใหม่สามารถเป็นต้นแบบการคิดในการผลิตที่ดีได้ ดังนี้ 1. การผลิตนั้นมุ่งใช้เป็นอาหารประจำวันของครอบครัว เพื่อให้มีพอเพียงในการบริโภคตลอดปี เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันและเพื่อจำหน่าย 2. การผลิตต้องอาศัยปัจจัยในการผลิต ซึ่งจะต้องเตรียมให้พร้อม เช่น การเกษตรต้องมีน้ำ การจัดให้มีและดูแหล่งน้ำ จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งการผลิต และประโยชน์ใช้สอยอื่น ๆ 3. ปัจจัยประกอบอื่น ๆ ที่จะอำนวยให้การผลิตดำเนินไปด้วยดี และเกิดประโยชน์เชื่อมโยง (Linkage) ที่จะไปเสริมให้เกิดความยั่งยืนในการผลิต จะต้องร่วมมือกันทุกฝ่ายทั้ง เกษตรกร ธุรกิจ ภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับเศรษฐกิจการค้า และให้ดำเนินกิจการควบคู่ไปด้วยกันได้ การผลิตจะต้องตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่าง “บุคคล” กับ “ระบบ” การผลิตนั้นต้องยึดมั่นในเรื่องของ “คุณค่า” ให้มากกว่า “มูลค่า” ดังพระราชดำรัส ซึ่งได้นำเสนอมาก่อนหน้านี้ที่ว่า “…บารมีนั้น คือ ทำความดี เปรียบเทียบกับธนาคาร …ถ้าเราสะสมเงินให้มากเราก็สามารถที่จะใช้ดอกเบี้ย ใช้เงินที่เป็นดอกเบี้ย โดยไม่แตะต้องทุนแต่ถ้าเราใช้มากเกิดไป หรือเราไม่ระวัง เรากิน เข้าไปในทุน ทุนมันก็น้อยลง ๆ จนหมด …ไปเบิกเกินบัญชีเขาก็ต้องเอาเรื่อง ฟ้องเราให้ล้มละลาย เราอย่าไปเบิกเกินบารมีที่บ้านเมือง ที่ประเทศได้สร้างสมเอาไว้ตั้งแต่บรรพบุรุษของเราให้เกินไป เราต้องทำบ้าง หรือเพิ่มพูนให้ประเทศของเราปกติมีอนาคตที่มั่นคง บรรพบุรุษของเราแต่โบราณกาล ได้สร้างบ้านเมืองมาจนถึงเราแล้ว ในสมัยนี้ที่เรากำลังเสียขวัญ กลัว จะได้ไม่ต้องกลัว ถ้าเราไม่รักษาไว้…” การจัดสรรทรัพยากรมาใช้เพื่อการผลิตที่คำนึงถึง “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า” จะก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่าง “บุคคล” กับ “ระบบ” เป็นไปอย่างยั่งยืน ไม่ทำลายทั้งทุนสังคมและทุนเศรษฐกิจ นอกจากนี้จะต้องไม่ติดตำรา สร้างความรู้ รัก สามัคคี และความร่วมมือร่วมแรงใจ มองกาลไกลและมีระบบสนับสนุนที่เป็นไปได้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกฝังแนวพระราชดำริให้ประชาชนยอมรับไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยให้วงจรการพัฒนาดำเนินไปตามครรลองธรรมชาติ กล่าวคือ ทรงสร้างความตระหนักแก่ประชาชนให้รับรู้ (Awareness) ในทุกคราเมื่อ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมประชาชนในทุกภูมิภาคต่าง ๆ จะทรงมีพระราชปฏิสันถารให้ประชาชนได้รับทราบถึงสิ่งที่ควรรู้ เช่น การปลูกหญ้าแฝกจะช่วยป้องกันดินพังทลาย และใช้ปุ๋ยธรรมชาติจะช่วยประหยัดและบำรุงดิน การแก้ไขดินเปรี้ยวในภาคใต้สามารถกระทำได้ การ ตัดไม้ทำลายป่าจะทำให้ฝนแล้ง เป็นต้น ตัวอย่างพระราชดำรัสที่เกี่ยวกับการสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชน ได้แก่ “….ประเทศไทยนี้เป็นที่ที่เหมาะมากในการตั้งถิ่นฐาน แต่ว่าต้องรักษาไว้ ไม่ทำให้ประเทศไทยเป็นสวนเป็นนากลายเป็นทะเลทราย ก็ป้องกัน ทำได้….” ทรงสร้างความสนใจแก่ประชาชน (Interest) หลายท่านคงได้ยินหรือรับฟัง โครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีนามเรียกขานแปลกหู ชวนฉงน น่าสนใจติดตามอยู่เสมอ เช่น โครงการแก้มลิง โครงการแกล้งดิน โครงการเส้นทางเกลือ โครงการน้ำดีไล่น้ำเสีย หรือโครงการน้ำสามรส ฯลฯ เหล่านี้ เป็นต้น ล้วนเชิญชวนให้ ติดตามอย่างใกล้ชิด แต่พระองค์ก็จะมีพระราชาธิบายแต่ละโครงการอย่างละเอียด เป็นที่เข้าใจง่ายรวดเร็วแก่ประชาชนทั้งประเทศ ในประการต่อมา ทรงให้เวลาในการประเมินค่าหรือประเมินผล (Evaluate) ด้วยการศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ ว่าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระองค์นั้นเป็นอย่างไร สามารถนำไปปฏิบัติได้ในส่วนของตนเองหรือไม่ ซึ่งยังคงยึดแนวทางที่ให้ประชาชนเลือกการพัฒนาด้วยตนเอง ที่ว่า “….ขอให้ถือว่าการงานที่จะทำนั้นต้องการเวลา เป็นงานที่มีผู้ดำเนินมาก่อนแล้ว ท่านเป็นผู้ที่จะเข้าไปเสริมกำลัง จึงต้องมีความอดทนที่จะเข้าไปร่วมมือกับผู้อื่น ต้องปรองดองกับเขาให้ได้ แม้เห็นว่ามีจุดหนึ่งจุดใดต้องแก้ไขปรับปรุงก็ต้องค่อยพยายามแก้ไขไปตามที่ถูกที่ควร….” ในขั้นทดลอง (Trial) เพื่อทดสอบว่างานในพระราชดำริที่ทรงแนะนำนั้นจะได้ผลหรือไม่ซึ่งในบางกรณีหากมีการทดลองไม่แน่ชัดก็ทรงมักจะมิให้เผยแพร่แก่ประชาชน หากมีผลการทดลองจนแน่พระราชหฤทัยแล้วจึงจะออกไปสู่สาธารณชนได้ เช่น ทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำนั้น ได้มีการค้นคว้าหาความเหมาะสมและความเป็นไปได้จนทั่วทั้งประเทศว่าดียิ่งจึงนำออกเผยแพร่แก่ประชาชน เป็นต้น ขั้นยอมรับ (Adoption) โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น เมื่อผ่านกระบวนการมาหลายขั้นตอน บ่ม เพาะ และมีการทดลองมาเป็นเวลานาน ตลอดจนทรงให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริและสถานที่อื่น ๆ เป็นแหล่งสาธิตที่ประชาชนสามารถเข้าไปศึกษาดูได้ถึงตัวอย่างแห่งความสำเร็จ ดังนั้น แนวพระราชดำริของพระองค์จึงเป็นสิ่งที่ราษฎรสามารถพิสูจน์ได้ว่าจะได้รับผลดีต่อชีวิต และความเป็นอยู่ของตนได้อย่างไร แนวพระราชดำริทั้งหลายดังกล่าวข้างต้นนี้ แสดงถึงพระวิริยะอุตสาหะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทุ่มเทพระสติปัญญา ตรากตรำพระวรกาย เพื่อค้นคว้าหาแนวทางการพัฒนาให้พสกนิกรทั้งหลายได้มีความร่มเย็นเป็นสุขสถาพรยั่งยืนนาน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงที่ได้พระราชทานแก่ปวงไทยตลอดเวลามากกว่า 50 ปี จึงกล่าวได้ว่าพระราชกรณียกิจของพระองค์นั้นสมควรอย่งยิ่งที่ทวยราษฎรจักได้เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ตามที่ทรงแนะนำ สั่งสอน อบรมและวางแนวทางไว้เพื่อให้เกิดการอยู่ดีมีสุขโดยถ้วนเช่นกัน โดยการพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขึ้นตอนต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตาหลักวิชาการ เพื่อได้พื้นฐานที่มั่นคงพร้อมพอสมควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริม ความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขึ้นที่สูงขึ้นไปตามลำดับ จะก่อให้เกิดความยั่งยืนและจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของครอบครัว ชุมชน และสังคม สุดท้ายเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน ประการที่สำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง
1. พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน 2-3 ต้น พอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือน เหลือจึงขายไป 2. พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ (ใช้จุลินทรีย์ผสมน้ำถูพื้นบ้าน จะสะอาดกว่าใช้น้ำยาเคมี) รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล) 3. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด " การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง "
"เศรษฐกิจพอเพียง" จะสำเร็จได้ด้วย "ความพอดีของตน
คำถาม
1 โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีโครงการอะไรบ้าง
2 บารมีนั้น คือ ทำความดี เปรียบเทียบได้กับอะไร เพราะอะไร
3 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกฝังแนวพระราชดำริให้ประชาชนยอมรับไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยให้วงจรการพัฒนาดำเนินไปตามครรลองธรรมชาติ กล่าวคืออะไรบ้าง


2551-12-07

จัดทำโดย น.ส. มณฑารพ วงษ์สว่าง 5005106005
นัด กรอ.ถกด่วนกู้วิกฤติชาติ

นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยในระหว่างการสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 51 ว่า ปัญหาการเมืองที่เกิดขึ้นตลอด 3 ปีที่ผ่านมา ส่งผลลบต่อประเทศอย่างมาก ทำให้รัฐบาลสั่นคลอน ขาดเสถียรภาพในการบริหารงาน ส่วนปัญหาเศรษฐกิจก็ขาดการดูแลจากรัฐบาล ทำให้ การแก้ปัญหาไม่มีประสิทธิภาพ ที่สำคัญกระทบต่อการทำงานของระบบข้าราชการที่ทำงานไม่เต็มที่ เพราะหวั่นเกรงการเปลี่ยนแปลง กลัวความเสียหาย กลัวถูกฟ้องร้องจนทำให้การทำงานล่าช้า ขาดประสิทธิภาพ ขณะที่ภาคธุรกิจพบว่ามียอดขายลดลงแล้วทุกอุตสาหกรรม ทั้งภาคการผลิต อาหาร สิ่งทอ ยานยนต์ เคมีภัณฑ์ หรือภาคบริการท่องเที่ยว ขนส่ง โรงแรม ค้าปลีก
นายประมนต์กล่าวว่า วันที่ 1 ธ.ค.นี้ นายโอฬาร ไชยประวัติ รองนายกรัฐมนตรียังได้เชิญประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) เป็นการด่วน ที่กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อหารือถึงผลกระทบของการปิดสนามบิน และแนวทางการแก้ปัญหา โดยนอกจากความเสียหายในการท่องเที่ยว และการขนส่งทางอากาศแล้ว ภาพพจน์ของประเทศก็เสียหายไปด้วย ซึ่งจะส่งผลกระทบถึงการลงทุนในอนาคต เพราะต่างชาติจะมองว่า เมื่อไทยปล่อยให้คนกระทำไม่ถูกกฎหมาย ก็จะขาดความเชื่อถือ
ด้านนายสุรินทร์ โตทับเที่ยง รองประธานกรรมการหอการค้าไทยกล่าวว่า การปิดสนามบิน ส่งผลให้การตกลงทางธุรกิจกับต่างชาติต้องเลื่อน ออกไปหลายสัญญา โดยเฉพาะลูกค้าใหม่อาจขาดความมั่นใจ และเลิกการสั่งซื้อได้ แต่หากเป็นลูกค้าเก่าอาจไม่เสียหายมาก แค่ชะลอการสั่งซื้อสินค้าเท่านั้น สิ่งที่น่าห่วงคือ การส่งออกผักผลไม้ ที่ตกค้างอยู่ที่สนามบินจำนวนมาก และเน่าเสียง่าย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 1 ธ.ค.นี้ นอกจากนายโอฬารจะเชิญประชุม กรอ.เป็นการด่วนแล้ว ยังได้เชิญผู้ประกอบการอุตสาหกรรมท่องเที่ยวทุกกลุ่มมาหารือ เพื่อออกแพ็กเกจท่องเที่ยวครั้งใหญ่เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เชื่อมั่นและกลับมาเที่ยวเมืองไทยเช่นเดิม หลังพบว่าผลกระทบจากการปิดสนามบินดอนเมืองและสุวรรรณภูมิ ทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยเสียหายหนัก อีกทั้งยังเกิดขึ้นในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว (ไฮซีซั่น) ที่สร้างรายได้ให้ประเทศถึง 60-70% ของรายได้จากการท่องเที่ยวทั้งหมด
ทั้งนี้ หากไม่เร่งวางแนวทางและให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ เพื่อวางแผนดึงดูดนักท่องเที่ยวแบบมีประสิทธิภาพแล้ว จะทำให้รายได้จากการท่องเที่ยวปี 52 ลดลงจนทำให้การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดเพิ่มขึ้นจากที่คาดการณ์ไว้มาก จนส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญกับระบบเศรษฐกิจของประเทศ เพราะรายได้จากการส่งออกซึ่งเป็นรายได้ หลักของประเทศ มีแนวโน้มชัดเจนว่าลดลงจากปี 51 กว่าเท่าตัว โดยล่าสุดสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้คาดการณ์ว่ามูลค่าการส่งออกปี 52 จะขยายตัวเพียง 7%
ดังนั้น จึงต้องเร่งวางแนวทางช่วยกันทั้งภาครัฐและเอกชนเพื่อกู้วิกฤติกลับคืนมาให้ได้ โดยนายโอฬารจะรับฟังปัญหาและความต้องการของเอกชนว่าจะให้ภาครัฐเข้าไปช่วยเหลือด้านใดเป็นกรณีเร่งด่วน รวมทั้งช่วยกันกำหนดรูปแบบของแพ็กเกจท่องเที่ยวให้ดึงดูดนักท่องเที่ยว เพราะฤดูท่องเที่ยวไทยยังคาบเกี่ยวไปถึงไตรมาสแรกของปี 52 หากไม่วางแผนรองรับเมื่อสถานการณ์คลี่คลายจะทำให้ไทยสูญเสียโอกาสและรายได้อย่างหนัก.

Question


1. การปิดสนามบินดอนเมืองและสุวรรรณภูมิ ควรทำอย่างไรเพื่อจะดึงดูดนักท่องเที่ยว


2. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้คาดการณ์ว่ามูลค่าการส่งออกปี 52 จะขยายตัวเป็นเท่าไร


3. ช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว การปิดสนามบินทำให้เสียหายรายได้ไปเท่ไร



2551-11-30

นางสาว ศศิธร ปิ่นวิเศษ 5005106025
เศรษฐกิจไทยเจ๊ง 2 แสนล้าน ม.หอการค้าชี้วุ่นวาย ยืดเยื้อจะโงหัวไม่ขึ้น [28 พ.ย. 51 - 05:34]

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์ พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้า ไทยเปิดเผยถึงผลกระทบของสถานการณ์ทางการเมืองต่อเศรษฐกิจไทยว่า หากสถานการณ์การเมืองไม่คลี่คลายภายในเดือน ธ.ค.นี้ กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยยังมีการชุมนุมต่อเนื่องและปิดสนามบินอยู่จะสร้างความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจถึง 134,000-215,000 ล้านบาท แบ่งเป็นผลกระทบต่อการท่องเที่ยว 76,120 ล้านบาท การส่งออก 25,000-40,000 ล้านบาท การลงทุน 12,000-40,000 ล้านบาท และการบริโภค 21,000-30,000 ล้านบาท ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัวเพียง 4.1-4.4%


อย่างไรก็ตาม หากเหตุการณ์ทางการเมืองคลี่คลายภายในสิ้นเดือน พ.ย.นี้ และยกเลิกปิดสนามบินในสัปดาห์นี้ความเสียหายจะลดลงเหลือเพียง 73,000-130,000 ล้านบาท แบ่งเป็นผลกระทบต่อการท่องเที่ยว 42,000-75,000 ล้านบาท การส่งออก 10,000-24,000 ล้านบาท การลงทุน 6,000-11,000 ล้านบาท และการบริโภค 15,000-20,000 ล้านบาท ส่งผลให้เศรษฐกิจเติบโต 4.5-4.8%


“สถานการณ์ความวุ่นวายควรจบโดยเร็ว รัฐบาล ต้องเลือกทางแก้ไขที่แยบยลและไม่รุนแรงเพราะจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจมาก หากทำไม่ได้นายกรัฐมนตรีก็ต้องยุบสภา หรือลาออก แต่ก็จะทำให้ เศรษฐกิจชะลอลงต่อเนื่องถึงไตรมาส 1 ปีหน้า เพราะโครงการเมกะโปรเจกต์การเบิกจ่ายงบประมาณขาดดุล 100,000 ล้านบาทจะชะงัก รวมถึงไทยจะเสียหายและเสียโอกาสจากการไม่สามารถลงนามในข้อตกลงระหว่างประเทศในการประชุมสุดยอดอาเซียนปลายปีนี้ แต่ก็จะเป็นผลดีในระยะยาวหากปล่อยให้ยืดเยื้อจะกระทบต่อภาพรวมมากกว่า แต่ไม่ควรใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินเพราะภาพพจน์ไทยจะยิ่งแย่ลงและแก้ปัญหายากขึ้น” ปรับเป้าปีหน้าเศรษฐกิจโต 2%


นายธนวรรธน์กล่าวว่า ในปี 2552 เศรษฐกิจมีโอกาสที่จะขยายตัวเพียง 2-3% จากที่คาดการณ์ ไว้เดิมที่ 3-4% เพราะสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศรุนแรงและยืดเยื้อกว่าที่คิดประกอบกับวิกฤติเศรษฐกิจโลกจะทวีความรุนแรงมากขึ้นและกระทบต่อเศรษฐกิจไทย เพราะภาคอุตสาหกรรม การผลิตได้รับผลกระทบจากการส่งออกที่ชะลอลงรวมถึงการบริโภคของประชาชนและการลงทุนชะลอลงเช่นกัน ที่สำคัญอาจมีคนว่างงานเพิ่มขึ้นเกิน 1 ล้านคน


ด้านนางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงสถานการณ์ท่องเที่ยวไทยจากการปิดสนามบินสุวรรณภูมิซึ่งสำรวจผู้ประกอบการท่องเที่ยว 218 ตัวอย่างทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 27 พ.ย.ที่ผ่านมา พบว่าผู้ตอบแบบสอบถาม 79.60% ได้รับผลกระทบ ขณะที่ 20.40% ยังไม่ได้รับผลกระทบ โดยปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการท่องเที่ยวมากที่สุด คือการปิดสนามบินสุวรรณภูมิที่กลุ่มตัว อย่างให้คะแนนสูงสุดถึง 9.6 จากเต็ม 10 คะแนน รองลงมาคือสถานการณ์ ทางการเมือง 8.7 วิกฤติการเงินโลก 8.3 นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างยังเห็นว่าหลังปิดสนามบินสุวรรณภูมินักท่องเที่ยวต่างประเทศลดลง 47.32% นักท่อง เที่ยวไทยลดลง 21.80% ยอดจอง (ทัวร์ โรงแรม) ลดลง 35.78% และยกเลิกการจองที่พัก/ทัวร์ 47.54%

“ในไตรมาส 3 ของ ปีนี้นักท่องเที่ยวต่างชาติมาไทย 2.14 ล้านคน ลดลง 16.14% จากช่วงเดียว กันของปีก่อนส่วนในเดือน ต.ค.2551 มีเพียง 749,976 คนลดลง 11.12% จากเดือนเดียวกันของปีก่อนเพราะปัญหาความวุ่นวายทาง การเมืองเป็นสำคัญยิ่งมีการปิดสนามบินสุวรรณภูมิอีก นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาไทยปี 2551 ประมาณ 14 ล้านคน จะยิ่งได้รับผลกระทบหนักเพราะในจำนวนนี้เดินทางโดยเครื่องบิน 11.9 ล้านคน โดยอาจทำให้ จำนวนลดลงเฉลี่ยวันละ 30,000-40,000 คนได้”

อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาในระยะสั้นมากคือกลุ่มพันธมิตรฯต้องออกจากสนามบินโดยเร็วนายกรัฐมนตรีไม่ควรยุบสภา หรือลาออกเพราะจะยิ่งทำให้การบริหารงานบ้านเมืองหยุดชะงัก ไม่ สามารถนำงบขาดดุล 100,000 ล้านบาทมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจได้ ไม่ว่ารัฐบาลจะขี้เหร่อย่างไรก็ต้องบริหารบ้านเมืองต่อ โดยรัฐบาลอาจเจรจากับกลุ่มพันธมิตรฯเพื่อหาทางออกและยอมรับเงื่อนไขบางอย่างของ กลุ่มพันธมิตรฯ เช่น เปลี่ยนตัวนายกรัฐมนตรีคนใหม่เพื่อให้การบริหารประเทศเดินหน้าต่อได้ ห่วงว่างงานเพิ่มอาชญากรรมพุ่ง

นางเสาวณีย์กล่าวว่า หากรัฐบาลไม่สามารถนำงบประมาณขาดดุล 100,000 ล้านบาท มาใช้ได้จะเกิดผลกระทบต่อเศรษฐกิจตามมามหาศาลเพราะไม่มีแรงในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โครงการเมะโปรเจกต์เดินหน้าต่อไม่ได้ การลงทุนภาครัฐ การบริโภคชะลอตัวลง ธุรกิจเอสเอ็มอีตายก่อน คนว่างงานเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะคนต่างด้าวที่จะต้องถูกปลดออกจากงานต่อ ซึ่งคนเหล่านี้ไม่ยอมกลับประเทศ เมื่อไม่มีงานทำก็อาจก่ออาชญากรรมเกิดปัญหาอาชญากรรมและปัญหาสังคมตามมา

ขณะที่นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองเลขาธิการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวในงานเสวนาเรื่อง “ทางรอดอุตสาหกรรมไทยปี 52” ถึงผลกระทบจากการปิดสนามบินสุวรรณภูมิว่า ทำให้การขนส่งสินค้าผ่านคาร์โก้เสียหายถึง 3,000 ล้านบาทต่อวัน โดยแบ่งเป็นการนำเข้าสินค้า 1,800 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าทั่วไปที่ใช้ในประเทศเช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ส่วนการส่งออก 1,200 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นอาหาร ผัก และผลไม้สด และสินค้าเกษตรที่มีตลาดหลักคือ อเมริกา และยุโรป ซึ่งการปิดสนามบินสุวรรณภูมิในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมานี้มีความเสียหายแล้วประมาณ 9,000 ล้านบาท

“ช่วงแรกคงจะไม่กระทบอะไรมาก แต่ในระยะยาวก็อาจทำให้เสียตลาดไปได้ เพราะประเทศคู่ค้าคงต้องหันไปหาตลาดใหม่แทน โดยมองว่า ไม่ควรจะยืดเยื้อเกิน 1 สัปดาห์ เพราะจะทำให้เสียหายสูงถึง 20,000 ล้านบาท และอาจจะมีผู้ประกอบการส่งออกที่เป็นเอสเอ็มอีประมาณ 30-50 รายที่ต้องหยุดผลิต เพื่อรอให้เหตุการณ์สงบก่อน”

ทั้งนี้ ปี 2551 การขนส่งสินค้าทางอากาศ (คาร์โก้) มีมูลค่ารวม 760,000 ล้านบาท หรือประมาณ 10% ของจีดีพีรวมทั้งประเทศที่อยู่ 6 ล้านล้านบาท โดยคาดว่าปี 2552 การส่งออกสินค้าอาหารของไทยจะมีมูลค่าประมาณ 750,000-760,000 ล้านบาท ลดลงจากปีนี้ที่คาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 800,000 ล้านบาท เนื่องจากราคาสินค้าหลายตัวปรับลดลงมาก โดยเฉพาะราคาข้าว.

ไทยรัฐ ข่าวเศรษฐกิจ
ปีที่ 59 ฉบับที่ 18574 วันศุกร์ ที่ 28 พฤศจิกายน 2551
คำถาม
1.ผู้อำนวยการศูนย์ พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้า คือใคร
2.นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์กล่าวถึงสถานการณ์ท่องเที่ยวไทยจากการปิดสนามบินสุวรรณภูมิซึ่งสำรวจผู้ประกอบการท่องเที่ยว กี่ตัวอย่าง
3.นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กล่าวในงานเสวนาเรื่อง“ทางรอดอุตสาหกรรมไทยปี 52” ถึงผลกระทบจากการปิดสนามบินสุวรรณภูมิว่า อย่างไร


2551-11-23

ธอส.สวนกระแสขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากระยะสั้น ป้องกันเงินไหลออก



จัดทำโดย น.ส.ธนัชพร จินดามณีโรจน์ 5005106011


นายขรรค์ ประจวบเหมาะ กรรมการผู้จัดการ ธอส. กล่าวว่า สถานการณ์วิกฤติสถาบันการเงินโลกที่มองว่า จะได้รับผลกระทบหนักในปีหน้า ทำให้ปีนี้ผู้บริหารสถาบันการเงินทุกแห่งจะมุ่งเน้นบริหารดูแลสภาพคล่องและป้องกันปัญหาหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่ที่จะต้องดูแล โดยขณะนี้ ธอส.มีสภาพคล่อง 40,000 ล้านบาท หากดูแลไม่ดีจะมีลูกค้าถอนเงินฝากไปยังธนาคารอื่นที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่า จึงต้องงัดกลยุทธ์ดอกเบี้ยเงินฝากมาดึงดูดลูกค้า
นายขรรค์ กล่าวว่า เพื่อเสริมสภาพคล่องและระดมทุนรองรับการปล่อยสินเชื่อ ธนาคารจึงได้ประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทออมทรัพย์พิเศษ จากอัตราเดิมร้อยละ 2.25 เป็นร้อยละ 3.25 ต่อปี สำหรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทประจำ 3-6 เดือน ปรับเป็นร้อยละ 3.00 ร้อยละ 3.25 และร้อยละ 3.5 ต่อปี สำหรับวงเงินฝากไม่ถึง 1 ล้านบาท 1 ล้านบาทขึ้นไป และ 5 ล้านบาทขึ้นไปตามลำดับ ตั๋วสัญญาใช้เงิน 1 เดือน จากร้อยละ 2.25 เป็นร้อยละ 2.75 เงินฝากตั๋วสัญญาใช้เงิน 2 เดือน จากร้อยละ 2.25 เป็นร้อยละ 3 มีผลตั้งแต่วันที่ 11 -30 พ.ย. 2551 เนื่องจากไม่ต้องการเพิ่มดอกเบี้ยสำหรับเงินฝากระยะยาว เพราะจะกระทบต้นทุนบริหารงาน อีกทั้งต้องรอดูทิศทางดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)ในวันที่ 3 ธ.ค.นี้ อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ในช่วงการแข่งขันระดมเงินฝากเมื่อให้ดอกเบี้ยเงินฝากสูงอาจทำให้สถาบันการเงินต่าง ๆ ยอมลดดอกเบี้ยเงินกู้น้อย ดังนั้น ทิศทางการลดดอกเบี้ยเงินกู้คงไม่สอดคล้องกับดอกเบี้ยเงินฝากในสถานการณ์ช่วงนี้ ทำให้สถานการณ์ในตลาดเงินจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิด
สำหรับผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2551 กรรมการผู้จัดการ ธอส. กล่าวว่า ณ วันที่ 30 ก.ย. 2551 ธนาคารมีผลกำไร (ก่อนกันสำรองหนี้สงสัยจะสูญ) จำนวน 7,520 ล้านบาท โดยในปีนี้ธนาคารได้กันสำรองฯ ไปแล้วจำนวนกว่า 5,843 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าปีก่อน 3,056 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 109.67 เพื่อนำเข้าสู่เกณฑ์สำรองตามมาตรฐาน IAS 39 ในปี 2555 ส่งผลให้ไตรมาส 3 ธนาคารมีผลกำไรสุทธิจากการดำเนินงาน 1,677 ล้านบาท ลดลง 334.51 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 16.63 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 2,011.51ล้านบาทโดยธนาคารมียอดสินเชื่อคงค้างรวม 587,886.10 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.88 และ 9 เดือนที่ผ่านมาธนาคารปล่อยสินเชื่อใหม่ได้ 57,026.77 ล้านบาท จำนวนลูกหนี้ 82,460 ราย ด้านเงินฝากธนาคารมียอดเงินฝากรวม 498,804.67 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.13 มีสินทรัพย์รวม 646,888.29 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.80 มีหนี้ เอ็นพีแอล 67,499.41 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 11.48 ของยอดสินเชื่อรวม ขณะที่ทรัพย์สินรอการขาย (เอ็นพีเอ) คงเหลือสุทธิตามงบการเงิน จำนวน 9,670.75 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 9.57 แต่หากหักยอดที่มีการขายผ่อนดาวน์แล้วจะทำให้ธนาคารมียอดเอ็นพีเอคงเหลืออยู่ 6,936 ล้านบาท โดยธนาคารสามารถจำหน่ายทรัพย์เอ็นพีเอได้ทั้งสิ้น 1,612.20 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ธนาคารยังคงดำเนินตามแผนงานจำหน่ายทรัพย์เอ็นพีเอให้ได้มากที่สุดเพื่อลดภาระค่าใช้จ่าย และเสริมสภาพคล่องให้กับธนาคารได้อีกทางหนึ่งด้วย
“ยอมรับว่าขณะนี้การปล่อยสินเชื่อต้องเน้นคุณภาพ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหนี้เสียภายหลัง โดยยอดปล่อยสินเชื่อปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 80,000 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายของกระทรวงการคลังที่ตั้งไว้ 90,000 ล้านบาท ซึ่งธนาคารจะขอดูรายได้ของผู้กู้เป็นพิเศษ เพราะถือเป็นหัวใจหลักของผู้กู้ในการผ่อนชำระคืนให้กับทางธนาคารได้ โดยทางธนาคารจะให้ผู้กู้ผ่อนชำระค่างวดไม่เกินร้อยละ 35 ของรายได้สุทธิต่องวด หรือประมาณ 1 ใน 3 ของเงินรายได้ ซึ่ง ธอส.จะดูข้อมูลต่าง ๆ ของลูกค้าผ่านรายงานของเครดิตยูโร”
ที่มา :
http://news.mcot.net/economic/
คำถาม
1. การเสริมสภาพคล่องและระดมทุนรองรับการปล่อยสินเชื่อให้กับธนาคารทำได้ด้วยวิธีใด
2. เพราะเหตุใดถึงไม่ต้องการเพิ่มดอกเบี้ยสำหรับเงินฝากระยะยาว
3. ธอส.ย่อมาจากอะไร และใครคือ กรรมการผู้จัดการ ธอส.

2551-11-16

คาดเงินนอกลงทุนหมื่นล้าน

จัดทำโดย นางสาว เปรมวดี เตชะพงศ์ประเสริฐ
เลขทะเบียน 5005106021

นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ ผู้อำนวยการส่วนนโยบายการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) กล่าวว่า ภายในปีนี้น่าจะมีเม็ดเงินที่ไหลเข้ามาลงทุนในประเทศไทยประมาณ 1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าปีที่ผ่านมาที่ไหลเข้ามา 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมาพบมีเงินไหลเข้ามาลงทุนแล้วกว่า 9 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ
ทั้งนี้ การไหลเข้ามาลงทุนในช่วงที่ผ่านมาสะท้อนถึงความมั่นใจในภูมิภาคเอเชีย ในขณะเดียวกันนักลงทุนยังไม่มั่นใจต่อค่าเงินดอลลาร์เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐยังไม่ดีเท่าที่ควรต้องหาตลาดใหม่ที่จะเข้ามาลงทุนแทน
นอกจากนี้ หากพิจารณาตามพื้นฐานของตลาดในภูมิภาคเอเชียแล้วยังพบว่ามีความน่าสนใจที่จะลงทุนอีกมากเพราะภาคส่งออกในหลายประเทศถึงว่าค่อนข้างแข็งแกร่ง ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจก็ยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่องทำให้ค่าเงินในภูมิภาคเอเชียมีเสถียรภาพมากกว่าค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ
อย่างไรก็ตาม คาดว่าในปีหน้าเม็ดเงินของนักลงทุนต่างชาติที่จะไหลเข้ามาลงทุนในประเทศไทยรวมถึงในประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียน่าจะอยู่ในระดับที่สูงกว่าปีนี้
เพราะเป็นข่าวเกี่ยวกับการเงินและมันก็เป็นประโยชน์แก่ตัวเรามันทำให้เราได้รู้การเคลื่อนไหวของเงินต่างชาติอีกด้วย

ที่มา learners.in.th/file/makei_kunchay/ข่าว.doc

คำถาม
1.ผู้อำนวยการส่วนนโยบายการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) คือใคร
2.นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ คาดว่าเศรษฐกิจปีหน้าจะเป็นอย่างไร

3.เพราะเหตุใดตลาดภูมิภาคเอเชียถึงมีความน่าสนใจ

2551-11-09

วิกฤต "แฮมเบอร์เกอร์" กับ "ต้มยำกุ้ง" ต่างกันอย่างไร

จัดทำบทความโดย นางสาวจตุพร ญาณนิธิกุล 5005106017
ขณะนี้ นักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลกต่างกังวลกับเศรษฐกิจฟองสบู่สหรัฐที่ใกล้จะแตก จนอาจจะกลายเป็นวิกฤติ "แฮมเบอร์เกอร์" ที่หลายฝ่ายกำลังกลัวว่า จะลุกลามกลายเป็นวิกฤติการเงินของโลก ไม่ต่างกับเมื่อ 10 ปีก่อน ที่เกิดวิกฤติการเงินในประเทศไทยในปี 2540 ซึ่งในที่สุด ได้ลุกลามข้ามน้ำข้ามทะเลไปยังประเทศต่างๆ กลายเป็นวิกฤติ "ต้มยำกุ้ง" ที่โด่งดังไปทั่วโลก
จริงๆ แล้ว สถานการณ์เศรษฐกิจการเงินของสหรัฐในปัจจุบัน มีส่วนคล้ายคลึงกับภาวะเศรษฐกิจของไทยในช่วงก่อนปี 2540 หลายประการ แต่ก็มีบางส่วนที่แตกต่างกัน ดังนั้น คอลัมน์มุมเอกในฉบับนี้ จะขอเปรียบเทียบสถานการณ์ทั้ง 2 เหตุการณ์ ให้ผู้อ่านได้รับทราบ เพื่อจะได้เข้าใจ “ความเหมือนที่แตกต่าง” ของวิกฤติต้มยำกุ้งในไทย กับวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ที่กำลังก่อร่างสร้างตัว และรอวันระเบิดอยู่ในสหรัฐ ในอนาคต
หากผู้อ่านลองย้อนนึกไปถึงสถานการณ์เศรษฐกิจในช่วง 4-5 ปี ก่อนที่จะเกิดวิกฤติการเงินของไทยในปี 2540 ท่านอาจจะพอจำความรู้สึกที่พวกเราคนไทยส่วนใหญ่ร่ำรวยกันอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะจากการปั่นราคาที่ดิน จนราคาสูงขึ้นไปหลายเท่าตัว หรือปั่นราคาหุ้นจนดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ไทย สูงขึ้นไปอยู่เกือบสองพันจุด (เทียบกับปัจจุบันที่ราคาหุ้นยังอยู่แค่ประมาณ 800 จุด) ส่วนธุรกิจเอกชนก็ร่ำรวยไม่แพ้กัน เพราะสามารถกู้เงินต่างชาติ ผ่านแบงก์หรือไฟแนนซ์ มาต่อเงินสร้างความร่ำรวยกันอย่างง่ายดายคราวนี้พอคนไทยส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา และห้างร้านนิติบุคคล หาเงินกันอย่างง่ายดาย ก็จับจ่ายใช้สอยกันอย่างฟุ่มเฟือยตามฐานะ (จอมปลอม) ที่ดีขึ้น หลายคนเริ่มสะสมรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ไว้ที่บ้านจนลานจอดรถไม่พอ บ้างก็แห่กันยกครอบครัวไปเที่ยวเมืองนอกและสะสมกระเป๋าใบหรูราคาแพงกันคนละหลายใบ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เมื่อรวมกันมาเป็นภาพใหญ่ก็สะท้อนมาด้วยตัวเลขการขาดดุลเดินบัญชีเดินสะพัดที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนมาอยู่สูงถึงเกือบร้อยละ 8 ของ GDP แล้วก็ชดเชยการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดนี้ด้วยการกู้เงินต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการกู้เงินระยะสั้นผ่านช่องทาง BIBF ของสถาบันการเงินต่างๆ
แน่นอนว่า ในช่วงแรกๆ ต่างชาติก็ยินดีให้กู้ด้วยดี เพราะเห็นว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะมีอนาคตสดใส สามารถชำระหนี้คืนได้ในอนาคต แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปๆ เศรษฐกิจเริ่มไม่สดใสอย่างที่คิด การส่งออกที่เคยโตปีละ 10% กลับไม่ขยายตัวในปี 2539 ผู้ให้กู้ชาวต่างชาติเลยหมดความมั่นใจ และแห่ถอนเงินกู้คืนจากเมืองไทยตั้งแต่ช่วงปลายปี 2539 จนเป็นที่มาของการล้มละลายในบริษัทไทยหลายแห่ง โดยเริ่มต้นจากบริษัทในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ปั่นราคาคอนโด และราคาบ้านจนสูงลิบ ซึ่งในที่สุดก็ขายไม่ออก กลายเป็นปัญหาหนี้เสีย NPL จนลุกลามทำให้ไฟแนนซ์ และธนาคารพาณิชย์ทั้งหลายขาดสภาพคล่องมหาศาล จนธนาคหากลองวิเคราะห์เจาะลึกสถานการณ์เศรษฐกิจสหรัฐ ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ท่านผู้อ่านจะพบว่า ไม่ต่างกับเหตุการณ์ฟองสบู่ ในเมืองไทยช่วงก่อนวิกฤติปี 2540 เท่าไรนัก เช่น คนอเมริกันที่ใช้จ่ายบริโภคกันอย่างฟุ่มเฟือย เหมือนคนไทยในยุคก่อนปี 2540 ในขณะเดียวกัน ก็แห่กันเก็งกำไรในราคาบ้านและที่ดินกันมหาศาล โดยแต่ละครอบครัวชาวอเมริกันจะมีบ้านกัน 2-3 หลัง และมีการปั่นราคาบ้านจนราคาสูงขึ้นไปหลายเท่าตัว
ดังนั้น ในที่สุดเมื่อบ้านเริ่มขายไม่ออก ลูกหนี้ที่ขอกู้มาผ่อนบ้านก็เริ่มชักดาบ (โดยเฉพาะลูกหนี้ที่มีรายได้ต่ำกว่ามาตรฐานทั่วไป หรือลูกหนี้ประเภทซับไพร์ม จนเป็นที่มาของชื่อเรียกยอดนิยมในปัจจุบันว่า ปัญหาซับไพร์ม) ทำให้สถาบันการเงิน เกิดปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างรุนแรง จนธนาคารกลางสหรัฐต้องเข้าไปช่วยเหลืออัดฉีดสภาพคล่องอย่างมากมาย ซึ่งดูแล้วก็ไม่ต่างกับปัญหาการขาดสภาพคล่องในช่วงปลายปี 2539 ยังไงยังงั้น
ซึ่งเหตุการณ์นี้ต่างกับประเทศไทยในช่วงก่อนปี 2540 ที่รัฐบาลไทยมีการเกินดุลการคลังมาโดยตลอด ทำให้ในยามจำเป็น ที่รัฐบาลต้องฟื้นฟูเศรษฐกิจในช่วงหลังวิกฤติ รัฐบาลจึงสามารถใช้บุญเก่า มาจัดทำนโยบายการคลังแบบขาดดุล เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้โดยไม่มีปัญหาเสถียรภาพการคลัง
การที่ภาคเอกชนและรัฐบาลอเมริกันพร้อมใจกันใช้จ่ายขาดดุลอย่างฟุ่มเฟือย ได้สะท้อนปัญหาในภาพรวม ให้เห็นผ่านการนำเข้าสินค้า และบริการที่ขยายตัวสูงมาก จนเกิดการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างต่อเนื่อง จนในปัจจุบันขาดดุลอยู่สูงถึงเกือบ 6% ของ GDP ซึ่งนับว่าเกินระดับอันตรายของมาตรฐานสากล ที่สามารถนำพาประเทศให้เกิดวิกฤติได้แล้ว แถมยังเป็นการขาดดุลทั้ง 3 บัญชี ทั้งขาดดุลการคลังของรัฐบาล ขาดดุลการออมของครัวเรือน และขาดดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งควรจะเรียกได้ว่า เป็นปัญหา Triple Deficits ที่น่าจะมีความรุนแรงกว่าวิกฤติต้มยำกุ้งของไทยที่อย่างน้อยก็ยังมีดุลการคลังที่เกินดุล
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจสหรัฐในปัจจุบันยังไม่เจอกับวิกฤติเศรษฐกิจก็เพราะระบบการเงินของโลก ที่สหรัฐวางรากฐานไว้ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่ทำให้ดอลลาร์กลายเป็นทุนสำรองระหว่างประเทศไปโดยปริยาย (ผมเขียนรายละเอียดเรื่องนี้ไว้ในคอลัมน์มุมเอก ตอน "ความผันผวนในตลาดเงินโลก กับการเงินระหว่างประเทศที่เปลี่ยนไป" ลองไปหาดูในบทความย้อนหลังนะครับ)เพราะฉะนั้น ประเทศต่างๆ ที่เกินดุลบัญชีเดินสะพัดกับสหรัฐ จึงไม่มีทางเลือกต้องนำเงินที่ค้าขายเกินดุลได้มา กลับไปลงทุนในสหรัฐ (ซึ่งก็คือการปล่อยกู้ให้สหรัฐ เพื่อชดเชยการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดนั่นเอง) ดังนั้น เมื่อสหรัฐยังมีเงินทุนจากต่างประเทศ ที่ยังเต็มใจให้สหรัฐกู้อยู่ ทำให้วิกฤติ “แฮมเบอร์เกอร์” จึงยังไม่เกิดขึ้น
แต่เหตุการณ์นี้ไม่ได้ประกันว่าจะเกิดขึ้นต่อไปอย่างถาวร เพราะในอนาคต เมื่อนักลงทุนต่างชาติ ที่ถือเงินลงทุนอยู่ในรูปดอลลาร์ เริ่มถอนเงินออกจากสหรัฐ เพราะเกรงว่าในที่สุดสินทรัพย์ในรูปดอลลาร์จะด้อยค่าลงๆ เหมือนกับสินทรัพย์ในรูปเงินบาท ที่ด้อยค่าลงอย่างรวดเร็วในช่วงวิกฤติปี 2540 วันนั้นแหละครับ ที่สหรัฐจะเจอวิกฤติ “แฮมเบอร์เกอร์ (เน่า)” อย่างเต็มรูปแบบ
เสียดายเนื้อที่คอลัมน์ฉบับนี้หมดลงเสียแล้ว ไว้ในคอลัมน์มุมเอกฉบับต่อๆ ไป ผมจะพูดถึงมาตรการขาดดุลการคลังของสหรัฐ และการลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ ว่าไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจสหรัฐได้ตรงจุดเท่าไร เพียงแค่ช่วยยืดเวลาวิกฤติออกไปเท่านั้น เพราะปัญหาที่แท้จริงในสหรัฐยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง ผมก็ได้แต่หวังว่า สหรัฐอเมริกาจะได้ประธานาธิบดี และรัฐมนตรีคลัง ที่เก่งกาจและชำนาญในเรื่องเศรษฐกิจ จะได้เข้ามาแก้ปัญหาวิกฤติของชาติ และของโลกได้ตรงจุด สวัสดีครับารชาติต้องเข้าไปช่วยเหลือ ซึ่งในที่สุด ก็เจ๊งและต้องปิดกิจการอยู่ดี
ที่มา:http://learners.in.th/blog/jtepa-thai-japan/213713

คำถามท้ายเรื่อง
ข้อ 1.วิกฤตการณ์ "แฮมเบอร์เกอร์" แตกต่างกับ "ต้มยำกุ้ง" อย่างไร
ข้อ 2. ปัญหา Triple Deficits เกิดจากการขาดดุลกี่บัญชีและบัญชีใดบ้าง
ข้อ 3. ในบทความนี้ผู้เขียนกล่าวว่า "สหรัฐอเมริกายังไม่เจอกับวิกฤติเศรษฐกิจ"ก็เพราะอะไร